จันทร์. ธ.ค. 23rd, 2024

โดยปกติระบบ Excitation ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะมี 2 แบบซึ่งในที่นี้จะอธิบายโดยย่อ ดังนี้

1. แบบ Self excited จะรับ power ในการ excitation จาก generator armature (generator output) โดยจะอาศัยอำนาจแม่เหล็กจำนวนเล็กน้อย ที่ตกค้างจากการทำให้เป็นแม่เหล็กในครั้งก่อน (residual magnetism) ไปตัดขดลวด และจะกระตุ้นให้เกิดแรงดัน AC ผ่านวงจร full wave bridge rectifier ให้เป็นไฟ DC แล้วนำไฟ DC ที่ได้นี้ป้อนกลับเข้าไปใน main field เพื่อเพิ่มอำนาจแม่เหล็กเดิมให้มากขึ้น ซึ่งจะวนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว จนกระตุ้นถึงแรงดันที่ต้องการ (ดังนั้นแม่เหล็กดังกล่าวจะเป็นแม่เหล็กชั่วคราวซึ่งได้จากการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้า)

2. แบบ Permanent Magnet หรือ PMG จะต่างกับแบบ self excited ตรงที่จะรับ power ในการ excitation จาก pilot excitor แทนที่จะรับจาก main armature ซึ่ง pilot excitor นี้ทำจากแม่เหล็กถาวรทำให้สามารถทำงานได้อิสระโดยไม่จำเป็นต้องพึ่ง generator output voltage เหมือนกรณีของ Self excited

ข้อดีของระบบ excitation แบบ PMG คือ
1. สามารถทนต่อฮาร์โมนีคโหลดได้ดีกว่าแบบ self excited
2. สามารถทนต่อกระแส short circuit ได้ถึง 300% เป็นเวลา 10 วินาที

โดยทั่วไปเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีขนาดเล็ก มาตรฐานจากโรงงานจะใช้ระบบ excitation เป็นแบบ self excited
แต่หากต้องการเป็นแบบ PMG ก็สามารถทำได้ ซึ่งจะเป็น option ของทางผู้ขาย

แต่สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ ๆ PMG จะเป็นมาตรฐานมาจากโรงงานเลย ซึ่งทาง Cummins ได้ให้ข้อมูลมาว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีขนาดมากกว่า 800 kVA มาตรฐานจะเป็นแบบ PMG ทั้งหมดครับ

ขอขอบคุณบทความจาก Cummins Diethelm ครับ

You missed